เมนูหลัก
 สมาชิก

หมวดหมู่วัตถุมงคล
พระกริ่ง (พระไภษัชยไวฑูรยประภาตถาคต) 1 พระชัยวัฒน์ 1 พระรอดหลวงหริภุญชัย รุ่น ปลียอดฉัตรพระธาตุเจ้าหริภุญชัย 1 เทวดาประจำวันเกิด / ราศีเกิด 4 เทพพระราหูทรงครุฑ 1 เทพพระเสาร์ทรงพยัคฆ์ (เสือ) 1 แหวนอสุรินทราหู รุ่น บรมเทวาภิเษก ๒๕๖๑ 1 แหวนพระนารายณ์ทรงครุฑนาคราช รุ่น บรมเทวาภิเษก ๒๕๖๑ 1 นรสิงห์ 1 พระพุทธมหาเศรษฐีนวโกฏิ 1 สุดยอดสีผึ้ง 1 พระกำลังแผ่นดิน 1 วัตถุมงคลสายวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร 1 บารมีนาคราช ปี 2566 1 แหวนวิรูปักโขนาคราช 1 มหามงคลวัตถุพญานาคราช จัดสร้างโดย พระครูปลัดภุชงค์ , พระมหาสุบิน , รายการทรัพย์แผ่นดิน 1 พระพิฆเนศ 1 ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 1 จตุคามรามเทพ 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภ 1 น้ำเต้าดูดทรัพย์ 1 เหรียญเจ้าสัวอู่ทอง 1 สมเด็จแสนล้าน, สมเด็จแสน 1 พระพุทธชัยมงคล (พระนอน) 1 หลวงปู่ทวด 1 พระลักษมณ์หน้าทอง 1 พระภรตมุนี 1 บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ 1 พระนเรศวรมหาราช 1 พระเจ้าตากสินมหาราช 1 พระแม่จามเทวี 1 ย่าโม (ท้าวสุรนารี) 1 พระตรีมูรติ 1 พระแม่ลักษมี มหาเทวี 1 วัดแค จ.สุพรรณบุรี 1

นรสิงห์ปราบมาร พิชิตโรค เนื้อนวโลหะครบสูตร ปิดทองคำแท้

นรสิงห์ปราบมาร พิชิตโรค เนื้อนวโลหะครบสูตร ปิดทองคำแท้

นารายณ์อวตาร ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร

“นรสิงห์”

นรสิงหาวตาร (NARASIMHA AVATARA) อวตารปางที่สี่ของพระนารายณ์ตอนนี้มีชื่อว่า “นรสิงหาวตาร” ซึ่งเป็นปางแรกที่พระนารายณ์อวตารลงมาในไตรยุค (Tri Yuga) ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่ 2 ของโลกเรา อันเป็นยุคที่ความดีของมนุษย์นั้นเริ่มลดลงเหลือ 3 ใน 4 ส่วน

คำว่า “นรสิงหาวตาร” นี้มาจากคำ 3 คำมารวมกัน คือ คำว่า “นร (Nara)” ที่หมายถึง คน บวกกับคำว่า “สิงหะ (Simha)” ที่หมายถึง สิงโต และ คำว่า “อวตาร (Avatar)”  ที่แปลว่า การเคลื่อนลงมายังโลกของพระนารายณ์ในรูปครึ่งคนครึ่งสิงโตนั่นเอง

เหตุการณ์ในตอนนี้เกิดขึ้นหลังจากหิรัณยากษะ (หิรันตยักษ์) ถูกพระนารายณ์ซึ่งเป็นหมูป่า สังหารไปแล้วนั้น พญายักษ์ชื่อว่า “หิรัณยกศิปุ (Hiranyakashipu)” ผู้เป็นน้องชายฝาแฝดก็ขึ้นมาเป็นใหญ่ในหมู่อสูรใต้บาดาลแทนพี่ชาย พญายักษ์ผู้นี้มีจิตใจหยาบช้ากว่าพี่ชายยิ่งนัก ได้บำเพ็ญตบะและขอพรจากพระพรหมว่า

·        ขออย่าให้ตนเองถูกมนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายฆ่าเอาให้ตายได้

·        อย่าให้ตายด้วยอาวุธใด ๆ ในสากลโลก

·        อย่าให้ตายในเวลากลางวันหรือกลางคืน

·        อย่าให้ตายในบ้านหรือนอกบ้าน

ซึ่งพระพรหมธาดาก็ทรงประสิทธิ์ประสาทพรให้ตามที่ขอทุกประการ ทำให้พญาหิรัณยกศิปุมีความฮึกเหิมไม่เกรงกลัวผู้ใด แม้แต่พระผู้เป็นเจ้า สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ร้อนถึงพระวิษณุต้องอวตารลงมาเป็นนรสิงห์ เพื่อปราบหิรัณยกศิปุ

พญายักษ์หิรัณยกศิปุ ตนนี้มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า “ประหลาทกุมาร” ซึ่งเป็นอสูรที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี มีความจงรักภักดีต่อพระนารายณ์มหาเทพยิ่งนัก  ทำให้แนวความคิดของพญาหิรัณยกศิปุนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แลพญายักษ์ก็มีความรักในโอรสยิ่งนัก เรียกได้ว่ารักดังหัวแก้วหัวแหวน  ประหลาทกุมารผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรมก็พยายามโน้มน้าวจิตใจของบิดาให้เลิกประพฤติชั่ว หันมาทำความดีมีความจงรักภักดีต่อผู้เป็นเจ้า แต่บิดาก็หาได้ฟังไม่ เที่ยวเบียดเบียนบีฑาบรรดาทวยเทพทั้งหลายให้เดือดร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง

พระอินทร์จึงชักชวนบรรดาทวยเทพทั้งหลาย ไปขอร้องให้พระนารายณ์มหาเทพ มาช่วยปราบพญาอสูรผู้ชั่วร้ายตนนี้ เพราะไม่มีใครจะปราบมันได้ พระนารายณ์มหาเทพก็ทรงรับปากว่าจะช่วย แต่ทรงขอเวลาคิดหาหนทางปราบพญาอสูรก่อน ฝ่ายประหลาทกุมาร ผู้เป็นโอรสก็เพียรพยายามขอร้องให้บิดาเลิกเบียดเบียนผู้อื่น ฝ่ายพญาอสูรผู้บิดาก็หาเชื่อฟังไม่ จึงใช้พวกพราหมณ์อสูรทั้งหลายไปอบรมพระโอรส ให้มาเข้าข้างตนพระโอรสก็ไม่ยอม แม้จะพยายามอย่างใด พระโอรสก็ไม่ยอม

จากความรักมาก ก็กลายเป็นความชังมาก จึงสั่งให้จัดการฆ่าโอรสของตนเสีย แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ๆ ก็ไม่สามารถฆ่าโอรสของตนได้ พญาหิรัณยกศิปุจึงถามโอรสตรง ๆ ว่าพระนารายณ์มหาเทพนั้นมีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงและแน่จริงก็ปรากฏตัวออกมาเลย และทันใดในระหว่างนั้น เสาศิลากลางห้องท้องพระโรงก็แตกออกมา เป็นนรสิงห์

 

นรสิงห์เป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ ได้ปรากฏตัวขึ้นในเวลาสนธยาโดยแตกออกมาจากเสาศิลากลางห้องท้องพระโรงของ หิรัณยกศิปุ ปราดเข้ามาจับตัวหิรัณยกศิปุ ลากออกไปอยู่บริเวณธรณีประตู (คืออยู่ในปราสาทครึ่งตัว อยู่นอกปราสาทครึ่งตัว) และนรสิงห์ผู้นั้นก็ถามพญาอสูรว่า

ตนเป็นมนุษย์ เทวดา หรือสัตว์  พญายักษ์ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งมนุษย์ เทวดา และสัตว์

นรสิงห์ก็ถามต่อไปว่า  เวลานี้ร่างของหิรัณยกศิปุอยู่นอกเรือนหรือในเรือน พญายักษ์ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งในเรือนและนอกเรือน

นรสิงห์ถามต่อไปอีกว่า เวลานี้เป็นกลางวันหรือกลางคืน หิรัณยกศิปุตอบว่า  มิใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่เป็นเวลาโพล้เพล้

นรสิงห์จึงชูมือกางกรงเล็บออกมา ถามพญายักษ์ว่า อันนี้คืออาวุธหรือไม่ พญายักษ์ก็ตอบว่าไม่

นรสิงห์จึงประกาศว่า พรทั้งหลายของพระพรหมธาดาเป็นอันเสื่อมแล้ว และตัวพญาอสูรก็ตกอยู่ในภาวะอันนอกเหนือจากพรหมประกาศิตทุกประการแล้ว

กล่าวจบ นรสิงห์ก็จัดการสังหารพญาอสูรด้วยการใช้กรงเล็บฉีกกระชากอกพญาอสูรจนถึงท้องจนขาดใจตาย

วัตถุประสงค์

ในปี 2563 เป็นที่ประเทศไทยเผชิญกับโรคระบาด คือ โรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่รุนแรงและระบาดไปทั่วโลก ประกอบกับ ในช่วงปลายปี 2562 ถึงต้นปี 2563 อ.ลักษณ์ ราชสีห์ ได้เจ็บป่วยและเกิดทุกขเวทนาจากอาการเจ็บป่วยนั้น ด้วยศรัทธาที่มีต่อองค์เทพเทวา จึงได้จัดสร้าง องค์นรสิงห์ปราบมาร พิชิตโรค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคล ให้ผ่านพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย ขจัดความป่วยเจ็บ ความอิจฉาริษยา ขจัดคุณไสย อวิชชา มนตราทั้งหลาย

องค์นรสิงห์คือ พระนารายณ์อวตารปางที่ 4 เพื่อปราบยุคเข็ญ มาร โรคร้าย สรรพภัยที่ร้ายกาจ ต่อสามโลก ตามตำนาน

 

ชนวนมวลสาร

        อ.ลักษณ์ ราชสีห์ ได้นำชนวนมวลสารที่เก็บเอาไว้ 15 ปี เป็นชนวนมวลสารจากเนื้อนวโลหะก้นเบ้า ก้านชนวนหล่อพระ ที่ อ.ลักษณ์ ราชสีห์ สะสมไว้ร่วม 15 ปี เนื้อโลหะแก่เงินแก่ทองคำ (ตรวจสอบได้) เป็นชนวนเหลือจากการหลอมรวมชนวนสร้างพระกริ่งสมเด็จธงชัย

พิธีพุทธาเทวามังคลาภิเษก 4 วาระ ร่วมกับพระกริ่ง / พระชัยวัฒน์สมเด็จธงชัย และพิธีนรสิงห์เทวาภิเษก ณ บ้านราชสีห์

 

มีพิธีการเททองนำฤกษ์ อธิษฐานโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) และมีพุทธาเทวามังคลาภิเษก 4 วาระ

·        วาระที่ 1 วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ พระอุโบสถ วัดไตรมิตรวิทยาราม

·        วาระที่ 2 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ พระอุโบสถ วัดไตรมิตรวิทยาราม

·        วาระที่ 3 วันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ พระอุโบสถ วัดไตรมิตรวิทยาราม ในวาระ “ดาวเสาร์ (๗)” โคจรย้ายราศี

·         วาระที่ 4 พิธีมหาเทวาประสิทธิ์ นรสิงห์ภิเษก ณ บ้านราชสีห์ ในวันเสาร์ 5 (วันที่ 28 มีนาคม 2563 )

·   วาระพิเศษ นำองค์นรสิงห์ปราบมาร พิชิตโรค ประกอบพิธีคุรุเทวะบูชา ในวัน ดาวพฤหัสบดี (๕)” โคจรย้ายราศี  ในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ณ บ้านราชสีห์

 

พระคาถาบูชา ขอพร องค์นรสิงห์ปราบมาร สลายโรคร้ายภัยเวร

อิมินา  สักกาเรนะ นะระสิงหาวะตารัง

มะหาเทวัง  สิระสา  นะมามิ,

นะมะการานุภาเวนะ  หันตะวา  สัพเพ

อุปัททะเว  อะเนกา  อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ  อะเสสะโต  ฯ

ทีฆะมัทธานัง  นะระสิงหาวะตาระมหาเทวา

สัพเพ  อัมเห  สะปะริวาเร  อนุรักขันตุ  สัพพะทา   

 เปรียบเทียบ


 ความคิดเห็น